เมนู

ขันติ. ขันติญาณนี้เป็นตรุณวิปัสสนาญาณอันเป็นไปแล้วด้วยสามารถ
แห่งสัมมสนญาณ มีการพิจารณาสังขารธรรมโดยความเป็นกลาป1เป็นต้น.

42. อรรถกถาปริโยคาหณญาณุทเทส


ว่าด้วย ปริโยคาหณญาณ


คำว่า ผุฏฺฐตฺตา ปญฺญา - ปัญญาอันถูกต้องซึ่งธรรม ความ
ว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้วเพราะความที่แห่งธรรมทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็น
ต้น เป็นธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วด้วยสามารถแห่งการพิจารณา
โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น.
คำว่า ปริโยคาหเณ ญาณํ - ญาณในการหยั่งลง ความว่า
ญาณใด ย่อมหยั่งลง ย่อมเข้าไปสู่ธรรมอันญาณผัสสะถูกต้องแล้วนั่นเอง
ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า ปริโยคาหณญาณ. อาจารย์บางพวก ทำ
รัสสะ คา อักษรเสียบ้างแล้วสวด. ปริโยคาหณญาณนี้เป็นติกขวิปัสสนา-
ญาณเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งภังคานุปัสนา. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า วิปัสสนาญาณนั่นแหละ เป็นขันติญาณสำหรับผู้มีสัทธาเป็น
พาหะ, เป็นปริโยคาหณญาณสำหรับผู้มีปัญญาเป็นพาหะ. เมื่อเป็น
1. คือยังทำลายฆนสัญญาไม่ได้.

เช่นนี้ ญาณทั้ง 2 นี้ ย่อมไม่เกิดพร้อมกันแก่คนๆ หนึ่ง, ญาณที่
สาธารณะแก่พระสาวก 67 ย่อมไม่เกิดขึ้นพร้อมกันแก่พระสาวกรูปหนึ่ง
ในการเกิดขึ้นพร้อมกันแห่งญาณนั้น, เพราะฉะนั้น คำของอาจารย์
บางพวกนั้น จึงไม่ถูก.

43. อรรถกถาปเทสวิหารญาณุทเทส


ว่าด้วย ปเทสวิหารญาณ


ประเทสวิหารญาณอันให้สำเร็จทัสนวิสุทธิญาณของพระอรหันต์
อันพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวญาณอันเป็นเหตุให้สำเร็จทัสน-
วิสุทธิญาณว่า ปุถุชนและพระเสกขบุคคลทั้งหลายพิจารณาอยู่ซึ่งธรรม
ทั้งสิ้นมีขันธ์เป็นต้น อันเข้าถึงวิปัสสนา, ไม่พิจารณาเอกเทสแห่งธรรม
เหล่านั้น, เพราะฉะนั้น ปเทสวิหารญาณย่อมไม่ได้แก่ปุถุชนและพระ-
เสกขบุคคลเหล่านั้น, แต่ย่อมได้ตามชอบใจแก่พระอรหันต์เท่านั้น ดังนี้
แล้วจึงยกขึ้นแสดงต่อจากปริโยคาหณญาณ.
ในปเทสวิหารญาณ คำว่า สโมทหเน ปญฺญา - ปัญญาใน
การประมวลมา
ความว่า ปัญญาในการประมวลมา คือปัญญาในการ
รวบรวมมา ได้แก่ ปัญญาในการกระทำซึ่งธรรมคือเวทนาอันเป็นธรรม
พวกเดียวกันให้เป็นกอง บรรดาธรรมมีขันธ์เป็นต้น. ปาฐะว่า สโม-